วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไปเรียนไปพิเศษชีววิทยา : การตอบสนองของพืช

วันนี้ตื่นเร็วขึ้นมาหน่อยเพราะต้องไปเรียนพิเศษวิชาชีววิทยกับอ.อุดมศิลป์ บทเรียนวันนี้ก็ว่าด้วยเรื่องการตอบสนองของพืช ซึ่งสรุปได้มาดังนี้...

การตอบสนองของพืชจะต้องมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากมา 2 สาเหตุ

1. growth movement - การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต

2. turgor movement  - การเคลื่อนไหวเนื่องจากแรงดันเต่ง (turgor pressure)

Growth movement แบ่งออกเป็น

1. paratonic/stimulus movement -การตอบสนองจากสิ่งเร้าภายนอก
   
   1) tropism/tropic movement - ทิศการเคลื่อนที่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (โค้งเข้าหา=positive , เบนหนี = negative) แบ่งได้ดังนี้

  •  Phototropism (แสง) - positive   : ปลายยอด (ลำต้น)                                                                    

                                               -negative  : ปลายราก

  •  Thermotropism (อุณหภูมิ)
  •  Geotropism /Gravitropism (แรงโน้มถ่วง)positive : รากพืชเจริญลงดินเพื่อรับน้ำและแร่ธาตุ
                                                                                  - negative : ทิศปลายยอด/ลำต้นตรงข้ามแรงโน้มถ่วงเพื่อรับแสง  
  •  Chemeotropism (สารเคมี)
  •  Hydrotropism (น้ำ) - พืชงอกมากในที่ที่มีความชื้นมาก รากงอกเข้าหาดินที่มีน้ำ
  •  Thigmotropism (การสัมผัส) - การที่พืชเลื้อยพันหลักต่างๆ เช่น เถาวัลย์ ตำลึง พลู พริกไทย 


   2) nasty/nastic movement - ทิศการเคลื่อนที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า : ทิศคงที่ แบ่งได้ดังนี้

  •   photonasty (แสง) - การบาน การหุบ ของดอกไม้
  •   Thermonasty (อุณหภูมิ) - การบานของดอกบัวสวรรค์เมื่ออุณหภูมิต่ำและหุบเมื่ออุณหภูมิสูง
  •   Thigmonasty (การสัมผัส) : ไมยราบ หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง 

    3) Taxis / Taxic movement -การเคลื่อนไหวทั้งตัว = การเคลื่อนที่ เช่น sperm เคลื่อนเข้ารังไข่ของพืชชั้นสูง


2.  autonomic movement - การตอบสนองของสิ่งเร้าภายใน : เน้น ฮอร์โมน auxin แบ่งได้ดังนี้

    1.) nutation movement : การแกว่งหรือโยกไปมาเนื่องจากล้ำต้นส่วนยอดพืชเจริญเติบโตไม่เท่ากัน

    2.) spiral movement : การบิดล้ำต้นเป็นเกลียว เช่น พริกไทย อัญชัน ตำลึง 

     
 Turgor movement : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำในเซลล์ ประกอบด้วย

1. contract movement - การหุบใบของต้นไมยราบ เพราะตรงโคนก้านใบ+ก้านใบย่อยมีกลุ่มเซลล์ parenchyma ที่เรียกว่า pulvinus (คุณสมบัติ 1.ใหญ่ 2.ผนังบาง 3.ไวต่อสิ่งเร้า) ทำให้เมื่อถูกสิ่งเร้าแล้วแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทันใจด้วยการสูญเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียง ใบจึงหุบทันที แต่ผ่านไปสักครู่ น้ำก็ซึมผ่านกลับสู่ pulvunus ใหม่ แรงดันเต่งก็เลยเพิ่ม เซล์ก็เลยเต่งขึ้น ใบก็เลยกางออกเช่นเดิม
2. sleep movement (การหุบของใบยามพลบค่ำ) การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงของพืชตระกูลถั่ว เช่น ก้ามปู มะขาม ไมยราบ ถั่ว แค กระถิน

3. guard cell movement - แรงดันเต่งลด>เซลล์เหี่ยว>ปากใบเปิด
                                                 - แรงดันเต่งเพิ่ม > เซลล์เต่ง > ปากใบเปิด


การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตของพืชสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อการเจริญเติบโต
2. เพื่อการหาอาหาร+แร่ธาตุ
3. เพื่อการเอาตัวรอดหลบหลีกอันตราย
4. เพื่อการสืบพันธุ์



plant hormone (ฮอร์โมนพืช)ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย

ชื่อฮอร์โมน
แหล่งผลิต
หน้าที่ควบคุม
1.ออกซิน (auxin) /indole acetic acid (IAA)
-เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ปลายราก แคมเบียม
- ใบอ่อน ผลอ่อน
- เยื่อหุ้มยอดอ่อน
1.ขยายขนาดเซลล์ ใบและผล
2.เร่งการเกิดราก
3.ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4.ยับยั้งการแตกตาข้าง
5.กระตุ้นให้รังไข่เจริญเป็นผล (โดยไม่มีการปฏิสนธิ)
6.กระตุ้นการเปลี่ยนเพศของพวกเงาะ
2. จิบเบอเรลลิน (GA)
- ผลและเมล็ดที่กำลังเจริญเติบโต
- ปลายยอดของลำต้น
- เชื้อรา
1. กระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ระหว่างข้อ ทำให้ต้นไม้สูงขึ้น
2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา
3.กระตุ้นการติดผล
4. กระตุ้นการออกดอกของพืชที่ออกดอกเมื่อผ่านฤดูหนาว
5. เปลี่ยนเพศดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมีย
3. ไซโทไคนิน (cytokinin)
- เนื้อเยื่อเจริญ
- ต้นอ่อนในเมล็ด
- น้ำมะพร้าว
- ยีสต์บางชนิด
1. แบ่งเซลล์
2. ชะการแก่ของผลไม้
3.กระตุ้นการตกตาข้าง
4.กระตุ้นการเกิดหน่อไม้ของแคลลัส ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4. เอทีลิน (Ethylene)
  เป็นแก๊ส

-ผลและใบที่แก่

1.เร่งการสุกของผลไม้
2. กระตุ้นการออกดอก
3.กระตุ้นการงอกของหัวพืชและเมล็ดพืชในระยะพัก
4. กระตุ้นการร่วงของใบไม้ ดอก ผลและการผลัดใบตามฤดูกาล
5. กระตุ้นการไหลของน้ำยาพารา
5. กรดแอบไซซิก (ABA)
เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโต
-ซอกใบ ตา
-หมวกราก
-ใบและผลที่แก่
1.กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลนอกฤดูกาล
2.กระตุ้นการพักตัวของเมล็ด
3.กระตุ้นการแตกตาข้าง



   
*มาเพิ่มเติมแล้วจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น